ที่มา: คลิปยูทูป http://youtu.be/CLqJWcJ5oao อ.เจน ญานทิพย์ ทำบุญ9วัด
การอุทิศบุญกุศล ที่สามารถไปถึีงได้ทุกภูิมิ คือการ ทำ วิปัสสนากรรมฐาน ได้อานิสงค์มาก มากกว่า ทำทาน คือเมื่อทำทานจะทำให้เป็นคนร่ำรวย ศีลเมื่อทำจะรูปสวย มีบารมี ภาวนาเมื่อทำแล้วจะทำให้มีปัญญา แต่ดีที่สุดคือ การทำ วิปัสสนากรรมฐาน
1.กรณีรดน้ำต้นไม้ เหตุผล เพื่อให้กุศลผลบุญไปถึงเร็วขึ้น
กล่าวว่า
ขอฝากพระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระพิรุณ จงนำกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจทำในครั้งนี้ขอให้ท่านนำส่งแก่ข้าพเจ้าในภพนี้ชาตินี้ ขอให้ท่านเป็นทิพญานในครั้งนี้ในการทำบุญ
2.อะหังสุขิโตโหมิ กรวดน้ำให้ตัวเองด้วย กล่าว
บุญใดกุศลใดที่ข้าพเจ้าได้ทำสำเร็จแล้วในวันนี้ ขอใ้ห้แก่ สัีมมาอาชีพ และปัจจัย4 ที่ข้าพเจ้าได้มีกินมีใช้ ขอได้รับอนิสงค์แห่งผลบุญในครั้งนี้ เหตุผล เราจะได้เจริญในหน้าที่การงาน อันเนื่องจากกรรมที่เกิดจากสัมมาอาชีพ
3.การกรวดน้ำ ใ้ห้กล่าวบาลีนำ เพราะจะต้องมีใบเิบิกทาง เนื่องจากผลบุญจะไ่ม่ถึงผู้รับ ที่อยู่ในนรกภูมิ
เช่น อิตังเม กรวดน้ำอย่างย่อ + ความตั้งใจด้วย
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลาย ของข้าพเจ้าเถิด
ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด
4.การตีฆ้อง เหตุผล เป็นการเรียกให้เทวดาฟ้าดิน เข้าร่วมโมทนาบุญกับเราด้วย
โดยกล่าว
ขอบุญกุศลที่ทำความดีในครั้งนี้ ขอเทพเทวดาฟ้าดินทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน จงโมทนาบุญกับข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วย ขอให้ชื่อของข้าพเจ้า จงไปถึง ดังกึกก้องใน 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน
อ้างอิง
วิธีกรวดน้ำ โดยท่านธรรมรักษา
กรวดน้ำ คือ การตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่เราได้ทำไว้แล้วไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
พร้อมทั้งรินน้ำให้ไหลลงไปที่พื้นดินหรือที่รองรับ แล้วเอาไปเทที่พื้นดินอีกต่อหนึ่งหรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้
เพื่อให้จำง่ายไม่สับสน จึงขอแยกเป็นข้อๆ ดังนี้
1. การกรวดน้ำมี 2 วิธี คือ
กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย
กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนมอธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไปให้
2. การอุทิศผลบุญมี 2 วิธี คือ
อุทิศเจาะจง ได้แก่ การออกชื่อผู้ที่เราจะให้ท่านรับ เช่น ชื่อพ่อ แม่ ลูก หรือใครก็ได้
อุทิศไม่เจาะจง ได้แก่ การกล่าวรวมๆกันไป เช่น ญาติทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น
ทางที่ถูกควรทำทั้งสองวิธี คือผู้ที่มีคุณหรือมีเวรต่อกันมาก เราก็ควรอุทิศเจาะจง ที่เหลือก็อุทิศรวมๆ
3. น้ำกรวด ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสีและกลิ่น และเมื่อกรวดก็ควรรินลงในที่สะอาดและไปเทในที่สะอาด อย่ารินลงกระโถนหรือที่สกปรก
4. น้ำเป็นสื่อ–ดินเป็นพยาน การกรวดน้ำมิใช่จะอุทิศไปให้ผู้ตายกินน้ำ แต่ใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยาน ให้รับรู้ในการอุทิศส่วนบุญ
5. ควรกรวดน้ำตอนไหนดี ?
ควรกรวดน้ำทันทีในขณะที่พระอนุโมทนาหรือหลังทำบุญเสร็จ
แต่ถ้าไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุผล 2ประการ คือ
- ถ้ามีเปรตญาติมารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที
- การรอไปกรวดที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งก็อาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับก็อด ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ก็ชวดไปด้วย
6. ควรรินน้ำตอนไหน ?
ควรเริ่มรินน้ำพร้อมกับตั้งใจอุทิศ ในขณะที่พระผู้นำเริ่มสวดว่า “ยะถาวาริวะหาปูรา...”
และรินให้หมดเมือ่พระว่ามาถึง “…มะณิโชติระโส ยะถา...” พอพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า
“สัพพีติโย วิวัชชันตุ...” เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง
7. ถ้ายังว่าบทกรวดน้ำไม่เสร็จ จะทำอย่างไร ?
ก็ควรใช้บทกรวดน้ำที่สั้นๆหรือใช้บทกรวดน้ำย่อก็ได้ เช่น
“อิทัง โน ญาตีนังไหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่...(ออกชื่อผู้ล่วงลับ)
และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”
หรือจะใช้แต่ภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ว่า
“ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ พ่อ แม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ
เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ”
ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดส่วนตัว หรือกรวดในขณะทำวัตรสวดมนต์รวมกันก็ได้
ข้อสำคัญ ถ้าเป็นภาษาพระ ควรจะรู้คำแปลหรือความหมายด้วย ถ้าไม่รู้ความหมาย
ก็ควรใช้คำไทยอย่างเดียวดีกว่า เพราะป้องกันความโง่งมงายได้
8. อย่าทำน้ำสกปรกด้วยการเอานิ้วไปรอไว้ ควรรินให้ไหลเป็นสายไม่ขาดระยะ และไม่ควรใช้วิธี
เกาะตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นทางเหมือนเล่นงูกินหาง ถ้าเป็นในงานพิธีต่างๆ ให้เจ้าภาพหรือประธาน
รินน้ำกรวดเพียงคนเดียวหรือคู่เดียวก็พอ คนนอกนั้นก็พนมมือตั้งใจอุทิศไปให้
9. การทำบุญและอุทิศส่วนบุญ ควรสำรวมจิตใจ อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน ปลูกศรัทธา ความเชื่อ
และความเลื่อมใสให้มั่นคงในจิตใจ ผลของบุญและการอุทิศส่วนบุญย่อมมีอานิสงค์มาก
ผลบุญที่เราอุทิศไปให้ ถ้าไม่มีใครมารับก็ยังคงเป็นของเราอยู่ครบถ้วน ไม่มีผู้ใดจะมาโกงหรือแย่งชิงไปได้เลย
10. บุญเป็นของกายสิทธิ์ ยิ่งให้ยิ่งมาก ยิ่งตระหนี่ยิ่งน้อย ยิ่งอุทิศให้คนอื่นหมดเลยเราก็ยิ่งจะได้บุญหมดเลย
ที่มา
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=young-angle&month=10-2008&date=14&group=4&gblog=5